Skip to main content
หน้าหลัก
  • ผลิตภัณฑ์
    redoxon-box-img
  • คำถามที่พบบ่อย
    submenu-image
  • เอกสารกำกับยา
  • เคล็ดลับสุขภาพ
    • 6 นิสัยที่ดี เพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของคุณ
    • 5 อาหารง่ายๆ กินอย่างไร? ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
    • 5 วิตามินช่วยเรื่องฮอร์โมนที่ผู้หญิง-ผู้ชายควรรู้จัก
    • Vitamin C และ Zinc ดีอย่างไร? ควรกินตอนไหน?
    • Zinc กับวิตามินซี รวมพลังสร้างประโยชน์ให้ร่างกาย
    • ชวนรู้จักอาการเมื่อขาดวิตามินดี และวิธีป้องกัน
    • ภาวะร่างกายอ่อนแอ ภูมิต้านทานต่ำ และวิธีเสริมภูมิคุ้มกันที่ดี
    • รู้จักประโยชน์ของวิตามินดี และวิธีเพิ่มวิตามินดีแก่ร่างกาย
    • รู้ทันภาวะความเครียด พร้อมแนะนำอาหารเสริมคลายเครียด
    • แร่ธาตุ Zinc ช่วยอะไรบ้าง ดีต่อผู้หญิงอย่างไร ?
  • สาระน่ารู้เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน
    • 6 สัญญาณเตือน เช็กอย่างไร ว่าระบบภูมิคุ้มกันกำลังอ่อนแอ?
    • เรื่องควรรู้เกี่ยวกับโรคหวัด
    • วิตามินและแร่ธาตุจำเป็นสำหรับภูมิคุ้มกันร่างกาย
    • Zinc ช่วยอะไร จำเป็นต่อร่างกายทั้งผู้หญิงและผู้ชายอย่างไร
    • ชวนไปดูสารอาหารที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน มีอะไรบ้าง?
    • รู้จักประโยชน์ของวิตามินดี วิตามินดี ๆ ที่สำคัญต่อร่างกาย
  • หาซื้อได้ที่
Bayer Cross Logo
  1. หน้าหลัก
  2. สาระน่ารู้เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน
  3. 6 สัญญาณเตือน ระบบภูมิคุ้มกันกำลังอ่อนแอ

Share on :

6 สัญญาณเตือน เช็กอย่างไร ว่าระบบภูมิคุ้มกันกำลังอ่อนแอ?

ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้แบคทีเรีย และไวรัสที่เป็นอันตรายเข้ามาทำร้ายร่างกายของคุณ การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงเพื่อให้ต่อสู้กับการติดเชื้อต่าง ๆ ได้
ต้องอาศัยการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายที่ดี เช่น การออกกำลังกายเป็นประจำ การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทั้งอาหารหลักอย่างโปรตีน คาร์โบไฮเดรต เกลือแร่ วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ

ในกรณีที่คุณได้รับสารอาหารจากการรับประทานอาหารไม่เพียงพอ คุณอาจรับประทานวิตามินเสริม ตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร
เพื่อช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ดีต่อร่างกาย แต่พฤติกรรมบางอย่าง ก็สามารถทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงได้

ลองเช็กเบื้องต้นดูสิว่าคุณเองมีพฤติกรรมทำหลายสุขภาพเหล่านี้หรือไม่

  • คุณเป็นโรคหวัด บ่อยหรือไม่?
  • คุณเป็นโรคอื่น ๆ (เช่น เบาหวาน) หรือไม่?
  • คุณมีปัญหากับน้ำหนักตัวหรือไม่?
  • คุณีไลฟ์สไตล์ที่เครียดหรือไม่?
  • คุณมีรูปแบบการนอนที่ผิดปกติหรือไม่?
  • คุณสูบบุหรี่หรือไม่?
  • คุณดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปหรือไม่?

หากคำตอบของคุณคือ "ใช่" ตั้งแต่หนึ่งข้อขึ้นไป ก็มีโอกาสที่ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของคุณอาจไม่ดีเท่าที่ควร
มาดูกันดีกว่าว่า สัญญาณเตือนระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ 6 ประการมีอะไรบ้าง และคุณสามารถดูแลรักษาระบบภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้นได้อย่างไรบ้าง
 

  • ความเครียด : คุณอาจสังเกตเห็นว่า บางครั้งหลังจากที่คุณมีภาวะเครียดรุนแรง อาจทำให้คุณไม่สบายได้ นั่นเป็นเพราะร่างกายหลั่งสารคอร์ติซอล (ฮอร์โมนความเครียด)
    ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการกำจัดแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อราบางชนิดของผิวหนัง การมีความเครียดสะสมอาจส่งผลต่อการพัฒนาเซลล์ภูมิคุ้มกันในร่างกายของคุณ ส่งผลต่อความสามารถต่อสู้กับการติดเชื้อ1
     
  • การติดเชื้อบ่อยครั้ง (ไข้หวัด) : การเป็นหวัดหลายครั้งต่อปี อาจเป็นสัญญาณว่าภูมิคุ้มกันในร่างกายกำลังอ่อนแอลง เพราะเมื่อคุณเป็นไข้หวัด ระบบภูมิคุ้มกันของคุณต้องทำงานอย่างหนัก
    ร่างกายจึงร้อนขึ้นและมีไข้ เพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อ เกิดอาการเจ็บคอ เพราะเซลล์ที่อยู่ในทางเดินหายใจอักเสบเพื่อพยายามหยุดยั้งไวรัส หากคุณมีการติดเชื้อหลายครั้งในหนึ่งปี
    ระบบภูมิคุ้มกันของคุณจะต้องทำงานหนักขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากจำเป็นต้องผลิตแอนติบอดีในอัตราที่มากขึ้น
     
  • น้ำหนักตัวเปลี่ยนแปลงฉับพลัน : หากน้ำหนักตัวไม่สมส่วนกับความสูง (เช่น มีน้ําหนักเกินหรือน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์) ก็อาจส่งผลเสียต่อระบบภูมิคุ้มกันได้ การมีน้ําหนักเกิน2 
    จะส่งผลให้ในเซลล์ภูมิคุ้มกันมีเซลล์ไขมันเพิ่มขึ้น และอาจหลั่งสารเคมีบางชนิดที่ส่งผลให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง จนกระทบต่อความสามารถในการดูดซึมสารอาหารที่สำคัญ
    การมีน้ําหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ระบบภูมิคุ้มกันของคุณก็อ่อนแอลงได้เช่นกัน อีกทั้งยังทำให้กระดูกเปราะบางกว่าปกติ และคุณอาจรู้สึกเหนื่อยล้าอ่อนเพลียเป็นส่วนใหญ่4 ซึ่งส่งผลเสียต่อต่อสุขภาพและภูมิคุ้มกันของคุณ
     
  • ใช้เวลารักษาบาดแผลนานขึ้น : หากคุณสังเกตเห็นว่า แค่การบาดเจ็บเล็กน้อยก็ต้องรักษานานกว่าจะหาย นั่นอาจเป็นสัญญาณว่าระบบภูมิคุ้มกันของคุณกำลังอ่อนแอลง
    การที่ร่างกายต้องใช้เวลาในการรักษาอาการบาดเจ็บ หรือบาดแผลนานขึ้น อาจเป็นผลมาจากการอักเสบเรื้อรัง หรือระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่
     
  • ปัญหาเกี่ยวกับช่องท้อง : ความไม่สมดุลของปริมาณแบคทีเรียชนิดดีและไม่ดีในกระเพาะอาหาร อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของคุณเข้าสู่ภาวะขับของเสียออกจากร่างกายมากเกินไป
    จนอาจนำไปสู่อาการท้องร่วง ท้องผูก และมีก๊าซในช่องท้อง ซึ่งอาการเหล่านี้พบได้บ่อยเ

    วิธีรับมือกับภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ

    หากคุณพบว่าร่างกายของคุณมีสัญญาณของภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอข้างต้นก็อย่าเพิ่งเป็นกังวลไป เพราะคุณสามารถเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้ เพียงทำตามขั้นตอนสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี 4 วิธีง่าย ๆ ที่เรานำมาฝากต่อไปนี้

    • เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ ให้ล้างมือด้วยสบู่และน้ำอุ่น หรือใช้เจลแอลกอฮอล์เป็นประจำ หลีกเลี่ยงการสัมผัสตา จมูก และปาก หากยังไม่ได้ล้างมือให้สะอาด
    • รับประทานอาหารและดีต่อสุขภาพให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่สมดุล โดยเฉพาะผักและผลไม้สด เพื่อช่วยให้ร่างกายของคุณได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง นอกจากนี้ คุณสามารถรับประทานอาหารเสริม ตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อช่วยให้คุณฟื้นฟูระดับสารอาหารรองในร่างกายได้5
    • ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อลดความเครียดและเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ดี
    • นอนหลับให้เพียงพอ การนอนหลับให้ได้ 8 ชั่วโมงทุกคืน จะส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของคุณฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
    • หากิจกรรมคลายเครียด หากออกกำลังกายเป็นประจำ และกิจวัตรการนอนหลับที่ดีต่อสุขภาพยังไม่สามารถช่วยคลายเครียดให้คุณได้ ลองหาวิธีผ่อนคลายอย่างอื่น เช่น การทำสมาธิ หรือโยคะ

แหล่งอ้างอิง::

  1. Andersen CJ, Murphy KE, Fernandez ML, Impact of Obesity and Metabolic Syndrome on Immunity, ADVANCES IN NUTRITION, Volume 7, Issue 1, January 2016, Pages 66–75, https://doi.org/10.3945/an.115.010207
  2. https://www.nhs.uk/live-well/healthy-weight/advice-for-underweight-adults/
  3. Ellis S, Lin EJ, Tartar D, Immunology of Wound Healing, Current Dermatology Reports 7(6), September 2018
  4. Morey JN, Boggero IA, Scott AB, Segerstrom SC, Current Directions in stress and Human Immune Function, Curr Opin Psychol. 2015 Oct 1; 5: 13–17.
  5. Natelson BH, Haghighi MH, Ponzio NM, Evidence for the Presence of Immune Dysfunction in Chronic Fatigue Syndrome, Clin Diagn Lab Immunol. 2002 Jul; 9(4): 747–752.
  6. How to prevent infections. Harvard Medical School, 2016. (Accessed 10/02/2020, at https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/how-to-prevent-infections.)
  7. Gombart AF, Pierre A, Maggini S. A Review of Micronutrients and the Immune System-Working in Harmony to Reduce the Risk of Infection. Nutrients 2020;12.

 


ระบบภูมิคุ้มกัน สิ่งสำคัญที่ควรใส่ใจ

 

 

 

 

โดยธรรมชาติแล้ว ร่างกายของมนุษย์มีระบบภูมิคุ้มกัน (Immune system) ที่คอยช่วยในการป้องกันเชื้อแบคทีเรียและไวรัสต่าง ๆ ระบบภูมิคุ้มกันประกอบด้วยกลไกป้องกันสามประการหลัก ๆ คือ ระบบห่อหุ้มร่างกาย (Physical Barriers) เช่นผิวหนังและเยื่อบุ เซลล์เม็ดเลือดขาว และแอนติบอดี การมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี ซึ่งเริ่มต้นจากการรับประทานอาหารครบ 5 หมู่และได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ จึงจำเป็นต่อสุขภาพและการทำงานของระบบต่าง ๆ ที่ซับซ้อนของร่างกาย

เรียนรู้เพิ่มเติม

 

เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง!

กำลังมองหาวิธีเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของคุณอยู่หรือเปล่า? ลองศึกษาข้อมูลจากบทความที่เป็นประโยชน์ได้ที่นี่

vitamin and minerals

วิตามินซี Zinc มีประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มกัน? | Redoxon

วิตามินซี และ Zinc เป็นสารอาหารสำคัญที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และมีส่วนช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันสามารถทำงานได้เป็นปกติ เสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง

เรียนรู้เพิ่มเติม
everything-you-need-to-know-about-cold-and-flu

เป็นหวัดบ่อยควรกินอะไร? พร้อมวิธีป้องกันไข้หวัด | Redoxon

อาการไข้หวัดเกิดจากอะไร อยากหายควรกินอะไรดี ถ้ากินวิตามินซีจะช่วยป้องกันหวัดได้จริงไหม หรือมีวิธีป้องกันไข้หวัดแบบไหนได้บ้าง ในบทความนี้เรามีคำตอบให้คุณ

เรียนรู้เพิ่มเติม

เรียนรู้เพิ่มเติม

Footer Bayer Logo
  • ผลิตภัณฑ์
    • คำถามที่พบบ่อย
    • เอกสารกำกับยา
  • เคล็ดลับสุขภาพ
    • เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
  • หาซื้อได้ที่

ลิขสิทธิ์©️ 2021 Bayer. ข้อความในเว็บไซต์นี้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด ขอสงวนสิทธิ์ในข้อความ รูปภาพ เสียง ซอฟแวร์ และอื่นๆในเว็บไซต์นี้ ห้ามมิให้ดัดแปลงหรือนำไปใช้งานอื่นๆ
จะต้องได้รับอนุญาติจากเจ้าของเว็บไซต์

เนื้อหาใช้เฉพาะเว็บไซต์นี้เท่านั้น

เลขใบอนุญาติเลขที่ ฆท. 838/2564

  • ติดต่อเรา
  • นโยบายรักษาข้อมูลส่วนบุคคล
  • เงื่อนไขการใช้งาน
  • Imprint
  • Bayer Global
  • LMR-CH-20210803-04